สัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย

ตราประจำจังหวัด รูปช้างสีขาวใต้เมฆ หมายถึง นิมิตของความรุ่งเรืองในอดีต เพราะพญามังรายเคยใช้ช้างเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกปราบศัตรูจนได้ชัยชนะ นอกจากนี้ ช้างยังเป็นชนวนให้พญามังรายมาก่อร่างสร้างเมืองนี้ขึ้นอีกด้วย โดยว่ากันว่า ช้างทรงของพญามังรายหลุดหายไปจากหลักที่ผูกไว้ พญามังรายติดตามไปจนถึงภูมิประเทศอันบริบูรณ์ริมน้ำกก จึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้น ณ ที่นั้น ต้นไม้ประจำจังหวัด: กาซะลองคำ (Radermachera ignea) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกพวงแสด (Pyrostegia venusta)

ประวัติจังหวัดเชียงราย

เชียงราย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ที่ตั้งของเมืองมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๘ อำเภอ มีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง ๓ ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวงเอเชียสาย ๒ และทางหลวงเอเชียสาย ๓ เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี “คำเมือง” เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน ดังจะสรุป ประวัติศาสตร์ความเป็นมาโดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ ๔ สมัย คือ สมัยชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำกก เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของชนชาติไทยและอารยธรรมไทย […]

ตำนานแมงสี่หูห้าตา สัญลักษณ์นำโชค เจียงฮายเกมส์

สัญลักษณ์นำโชค การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เจียงฮายเกมส์ แมงสี่หูห้าตา ชื่อว่า “คำสุข” ตามตำนานของวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว จังหวัดเชียงรายเชื่อกันว่า แมงสี่หูห้าตามีลักษณะตัวอ้วนและเตี้ย มีกายภาพอย่างหมี และมีขนยาวสีดำปกคลุมร่างกาย นอกจากนี้ยังมีหูสองคู่และมีตาห้าดวง โดยที่ดวงตาของแมงสี่หูห้าตาเป็นสีเขียว รับประทานถ่านไฟร้อนเป็นอาหาร และมูลของแมงสี่หูห้าตานี้เป็นทองคำ อย่างไรก็ดี มิได้ปรากฏว่ามีอุปนิสัยดุร้ายหรืออย่างอื่นใด มีรูปปั้นของสัตว์นี้ปรากฏที่วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ภาพวาดแมงสี่หูห้าตาตามตำนวนวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว จังหวัดเชียงราย โดย พระครูบาสนอง สุมะโน เมื่อปี พ.ศ. 2528 ตำนานแมงสี่หูห้าตา ตำนานของแมงสี่หูห้าตานั้น เป็นตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วของจังหวัดเชียงราย ในส่วนนี้ เป็นตำนานของแมงสี่หูห้าตาตามฉบับที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งเป็นตำนานฉบับวัดดอยเขาควายแก้วของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นเรื่องราวของ “อ้ายทุกคตะ” มีความว่า ในอดีตกาล ประมาณ 1,000 กว่ามีมาแล้ว มีเมืองหนึ่งที่ชื่อ นครพันธุมติ มีพระเจ้าพันธุมติราชปกครองอย่างร่มเย็นเป็นสุข และพระเจ้าพันธุมติราชนั้นมีพระมเหสีเจ็ดพระองค์ ในเมืองนี้ มีครอบครัวคนจนอยู่ มี 3 พ่อแม่ลูก ออกขอทานหาช้าวกินค่ำ ลูกคนนี้มีชื่อว่า […]